- การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
- การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
- การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
- การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
- ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
- ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
7.ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แบบทดสอบ บทที่ 10
ตอบลบ1. Buffer Overflow คือ
ก.ผู้ที่มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกลงไปในส่วนของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ข.เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด
ค.บุคคลที่บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นเพื่อทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ง.กลุ่มบุคคลที่จัดอยู่ในพวก Cracker
2. ข้อใดคือบัญญัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
ก.ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
ข.เปลี่ยนรหัสสม่ำเสมอ เช่น ทุก 3 เดือน
ค.ปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
ง.ถูกทุกข้อ
3. คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการกฏหมายเทคโนโลยีเมื่อวันที่
ก. 5 ธันวาคม 2540
ข. 15 ธันวาคม 2541
ค. 20 ธันวาคม 2542
ง. 25 ธันวาคม 2543
4. การยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีกี่ฉบับ
ก. 4 ฉบับ
ข. 5 ฉบับ
ค. 6 ฉบับ
ง. 7 ฉบับ
5. ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท
6. ใครเป็นผู้คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ก. นาย Gener Scrips
ข. นาย Fred Cohen
ค. นาย Buffer Overflow
ง. นาย Jons Boot
7. คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบต่อมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ตเมื่อใด
ก.15 ธันวาคม 2541
ข.20 กรกฎาคม 2544
ค.19 ธันวาคม 2542
ง.31 มกราคม 2541
8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับมาตรการทางสังคม
ก.มาตรการเร่งด่วนของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ข.การดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ค.มาตรการระยะยาวของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
ง.ถูกทุกข้อ
9. ข้อใดคือความหมายของ Hacker
ก. กลุ่มบุคคลที่จัดอยู่ในพวก Cracker
ข. ผู้ทีมีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกลงไปในส่วนของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ค. บุคคลที่บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นเพื่อทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ง. เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด
10. ข้อใดคือความหมายของ Data Diddling
ก. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์
ค. เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบ
ง. เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งอย่างมีเงื่อนไข
เฉลย : 1.ข 2.ง 3.ข 4.ค 5.ค 6.ข 7.ข 8.ง 9.ข 10.ก