ชื่อและหมายเลขประจำเครื่องในเครือข่าย
IP Address คือ หมาย เลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น กำหนดให้ IP address (เป็นหมายเลข 3 หลัก 4 กลุ่ม) มีทั้งหมด 32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ระบบหมายเลขประจำเครื่องมีข้อบกพร่อง คือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ทราบ ดังนั้น จึงมีการใช้ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนหมายเลข IP Address มาเป็นชื่อที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจกัน เช่น Moe.go.th / udru.ac.th / microsoft.com
Domain Name System : DNS การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ในระบบ internet นั้นใช้มาตรฐาน TCP/ IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้ เวลาติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะอ้างถึงหมายเลขประจำตัวเครื่องปลายทางที่เราติดต่อได้ทันที โดยปกติเครื่อง Web Server จะมี IP Address ทั้งนี้เกิดปัญหาในการจำ เพราะว่า IP Address มีตัวเลขถึง 12 ตัว จากจุดนี้เลยได้มีการคิดที่จะแปลง IP Address ให้เป็นชื่อที่จำได้ง่าย Domain Name System จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้ชื่อแทนที่หมายเลข IP ฉะนั้น DNS คือระบบการแปลงค่าระหว่าง IP Address และชื่อเครื่อง(Host) เช่น IP Address "172.5.0.1" เรียกเป็น "http://fws.cc/linkout.php?http://www.udru.ac.th" (เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี)
การกำหนดชื่อใน DNS จะเรียงลำดับความสำคัญจากขวาไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น Udru.ac.th จะอ่านได้ว่า th มาจากประเทศไทย, ac หน่วยงานการศึกษา, udru ชื่อหน่วยงานในที่นี้คือ มรภ.อุดรธานี
รูปแบบชื่อโดเมน มี 3 รูปแบบใหญ่ ๆ
1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain ชื่อทางด้านขวาสุดแบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains : gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันโดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งลงท้ายด้วย .com .net .org .biz .info เป็นต้น
- รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ(Country Code top Level Domains : ccTLDs) บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมนหรือที่ตั้งโดเมนมักใช้กับประเทศอื่นยกเว้นอเมริกา เช่น .th ประเทศไทย, .jp ประเทศญี่ปุ่น, .uk ประเทศอังกฤษ เป็นต้น
.au = Australia .
sg = Singapore
.th = Thailand
.tw = Taiwan
.uk = United Kingdom
.jp = Japan
2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็นชื่อถัดมาลำดับที่ 2 จะเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่งเป็น 2 ส่วน
- ลักษณะการดำเนินงานขององค์กรในประเทศไทย เช่น
.co = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.ac = Academic หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.go = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.or = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mi = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
.in = Individual เว็บไซต์ส่วนบุคคล
- ลักษณะการดำเนินงานขององค์กร ยกเว้นประเทศไทย เช่น
.com = Commercial หน่วยงานทางธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน
.edu = Education หน่วยงานสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
.gov = Government หน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม
.org = Organization หน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.mil = Military หน่วยงานด้านความมั่นคง (ทหาร)
.net = Network หน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเครือข่ายสื่อสาร
3. โดเมนขั้นที่สาม - Third Level Domain เป็นลำดับที่ 3 นับจากด้านขวามือ เป็นชื่อที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถจดจำได้เช่น
udru = มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Microsoft = บริษัทไมโครซอฟต์
moe = กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น